ถ้าให้ผมแนะนำการเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คสักเครื่องเพื่อมาเขียนโปรแกรมละก่อ ผมจะแนะนำตามประสบการณ์การใช้งานจริงซึ่งที่สังเกตเห็นตลอดอายุการใช้งาน Notebook มา ซึ่งเคยคลุกคลีมา 3-4 ยี่ห้อละกันแบบทำจนจบโปรเจกค์ ขอแชร์สเปกการเลือกซื้อดังนี้ [2weektrain]
***Update 2017-05-31 ตอนนี้ผมใช้ DELL Inspiron สำหรับเขียนโปรแกรม .Net C# ล่าสุดคอมก็เพิ่งมีปัญหาไป ผมรีวิว Dell On-site Support เอาไว้ ตามลิ้งนี้
เริ่มจากแป้นพิมพ์ (Keyboard) สิ่งแรกเลยที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุด เพราะเมื่อเริ่มเขียนโค๊ดจนเป็นอาชีพจะสัมผัสได้ถึงประสิทธิภาพการละเลงโค๊ดที่ว่องไวมากขึ้น เมื่อแป้นพิมพ์เป็นใจ ซึ่งหลายยี้ห้อทำพลาดในจุดนี้ เพราะยิ่งเครื่องเล็กเท่าไหร่ แป้นก็จะตัดส่วนที่ไม่จำเป็นทิ้ง เช่น ลดขนาดปุ่ม backspace ลงหรือลดขนาดปุ่มลูกศร(HP, Samsung) ซึ่งไม่เป็นมิตรต่อโปรแกรมเมอร์เลยเพราะปุ่มเหล่านี้ใช้งานบ่อยมากถ้าลดขนาดลงพิมพ์ยากขึ้นแน่นอน ปุ่ม fn ของบางยี้ห่อเช่น Lenovo จะอยู่สลับกับปุ่ม left-ctrl ถ้าใครไม่ชินก็ต้องทำใจ(แต่รุ่นใหม่ๆย้ายกลับเหมือนเดิมแล้ว)
note: เลือกที่ปุ่มกดง่าย ทดลองพิมพ์ก่อนจะดีมาก ปุ่มbackspaceห้ามโดนตัด ปุ่มลูกศรขึ้นลงห้ามโดนตัด ปุ่มอื่นๆอยู่ในตำแหน่งที่คุ้นชิน ขนาดนิ้วมือถูกออกแบบมาให้กดปุ่มที่ขนาดพอดีนิ้ว
Ram และ Hard Disk เลือกแรมที่ 4Gb เป็นขั้นต่ำเพราะการทำงานจริงๆนั้นเราต้องเปิดหลายโปรแกรมครับ เช่นเป็น Windows Developer ต้องเป็นสิ่งเหล่านี้แน่นอน Visual Studio, SQL server (กินแรมเพิ่มอีก ตอน query), Skype เอาไว้ติดต่องานกับคนอื่น , Microsoft Word + Excel เอาไว้ดู design document , เท่านี้แรม 2Gb ก็ร้องแล้ว เคยได้คอม 2Gb มาใช้ปวดหัวเลยไม่กลับไปใช้แน่นอน ส่วน hard disk ควรเลือกที่ 500Gb 5400rpm ก็เพียงพอ แต่แบ่งไดว์ C: ไว้ที่ 100Gb+ เชื่อผมว่าโปรแกรมมันเยอะกว่าที่คุณคิด
ช่องเสียบแผ่น CD ไม่ต้องเอาก็ได้ ยุคนี้มัน USB 3.0 ละ ตัวเดียวจบ install windows ผ่านยูเอศบีก็ง่ายมากๆ ไม่รู้จะซื้อช่องเสียบซีดีมาให้พังทำไม
ดีไซด์(Design) ก็สำคัญผมเคยจับ Asus แบบมันวาวมา ใช้ยากมากครับ ออกแบบมาสวยแต่เพราะความมันวาวนี้แหละ ทำให้แป้นเลื่อนเมาส์ต้องวาวไปด้วยซึ่งควบคุมได้แย่มากๆ วันไหนลืมเม้าส์นี้แทบไม่อยากจับเลย เอาแบบเป็นหยักแบบ Lenovo ก็ดี เจ้านี้แป้นเมาส์กดสนุกมาก แต่ส่วนใหญ่ใช้เมาส์มือหมดละ
สุดท้ายเรื่องการระบายความร้อน อันนี้ต้องอ่านรีวิวครับ ว่าแต่ละเจ้าทำกันยังไง ระบบพัดลมเนี้ยไม่ต้องทำให้มันฉลาดมากหรอก เอาไปพัฒนาพัดลมเก็บเสียงดีกว่า เคยจับ Toshiba มาตัวนึง เวลาเกิดความร้อนเกินใน mainboard ซึ่งพัดลมจะทำงานเป็นระยะ น่ารำคาญมากๆ พ่นเบาๆผ่อนหนักจะไม่ว่า อันนี้เบาหนักสลับถี่มากกลายเป็นคนข้างๆทักขึ้นมาเลยว่าพัดลมทำงานแรงเน้อ ภาพลักษณ์เสียหายหมด แถมเครื่องร้อนไวมากทะลุมาถึงแป้นเลย ถ้าถึงจุดนั้นรู้ไว้เลยว่าเตรียมค้าง เพราะเครื่องจะเริ่มไม่ตอบสนอง ขึ้นขนาดพักกลางวันผมต้อง shutdown เลยไม่งั้นตอนบ่ายไม่รอด เคยไปส่องโตชิบาอยู่เครื่องใหม่ๆเค้าลง Ubuntu มาให้กิน resource น้อยเลยไม่ร้อน สงสัย windows8 ใช่แล้วร้อนเร็วละมั้ง
สรุปรวมราคาคร่าวๆ จาก spec ที่กล่าวมา ราคาน่าจะอยู่ที่ประมาณ 22,000 บาทขึ้นไป เช่น PH, Acer, Lenovo งบถึง ไป MacBook Pro เลย บางรุ่นอาจต่ำกว่านี้ แล้วแต่ว่ายี่ห้อไหน ถ้าเป็น Lenovo ที่ 18,000 บาทก็อาจจะได้ spec ประมาณนี้แล้ว หรือ Samsung ก็พอไหวแต่ต้องดู CPU ดีๆละเอียดๆ เคยใช้samsung [ corei5] spec 2013 สู้กับ Lenovo [core2duo] spec 2010 คอมไพล์เกมส์ตัวเดียวกัน samesung รอ 20 วินาที ส่วน Lenovo 5 วิ มีเพื่อนเคยใช้ Acer แบตพังเครื่องร้อน ไม่รู้รุ่นใหม่ๆเค้าพัฒนาจุดนี้ละยัง Dell,Sony ไม่เคยลอง, Fujitsu น่าจะแพงไปถ้าเทียบสเปกแล้วไม่คุ้ม
ปล. ไม่เกี่ยวกันแต่ๆบริษัทดังๆอย่าง Google ผมสังเกตตามคลิปสัมนาใหญ่ๆ โน็ตบุ้คที่Developer ใช้ถ้าไม่ใช่ MAC ก็ LENOVO
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น